Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน ปตท. ผนึกพันธมิตร ยืดอายุหลอดลดขยะ-เพิ่มรายได้ชุมชน

มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน ปตท. ผนึกพันธมิตร ยืดอายุหลอดลดขยะ-เพิ่มรายได้ชุมชน

“ทุกวันนี้มีหลอดพลาสติกถูกใช้ และทิ้งประมาณ 500 ล้านชิ้นต่อวัน เฉลี่ยต่อครั้งไม่เกิน 20 นาที ทั้งยังเป็นการใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่การย่อยสลายใช้ระยะเวลาถึง 200 ปี ขยะพลาสติกประเภทหลอด จึงถือเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบในวงกว้าง ยิ่งภาพจำของหลายคนที่เห็นคลิปหลอดติดในรูจมูกของเต่าทะเล เห็นแล้วต้องสะเทือนใจ เป็นการสะท้อนภาพผลกระทบขยะชิ้นเล็กอย่างหลอดที่เห็นภาพชัดสุดแล้ว จึงเป็นที่มาของการนำหลอดกลับเข้าสู่กระบวนการ รีไซเคิล ของมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน ร่วมกับสถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ริเริ่มโครงการต่ออายุหลอดพลาสติกใช้แล้วขึ้นมา ตั้งแต่เริ่มโครงการฯ ตั้งแต่ปี 63 – ปัจจุบัน ลดขยะหลอดพลาสติกได้ประมาณ 1,276,000 หลอด หรือ 646 กิโลกรัม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 839.8 kgCO2e/kg หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 93 ต้น ซึ่งไม้ยืนต้น 1 ต้น สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ จำนวน 9 กิโลกรัมต่อปี

ดร.จิระวุฒิ จันเกษม นักวิจัยอาวุโส สถาบันนวัตกรรม ปตท. ฉายภาพถึงจุดเริ่มต้นโครงการต่ออายุหลอดพลาสติกใช้แล้วว่า โครงการดังกล่าวเริ่มจากมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน ได้เปิดรับบริจาคหลอดจากพนักงานในกลุ่ม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)หน่วยงานต่างๆ และบุคคลทั่วไป เพื่อนำมาผลิตเป็นหมอนสำหรับผู้ป่วย แต่เมื่อหมอนถูกใช้ไปสักพัก ตัววัสดุที่เป็นหลอดด้านในก็เกิดการเสื่อมสภาพไม่สามารถใช้งานได้อีก จึงเป็นที่มาของการเข้ามาหารือกับสถาบันนวัตกรรม ปตท. ด้วยความตั้งใจของคนที่ต้องการบริจาคหลอดมาเพื่อช่วยลดขยะ และเกิดประโยชน์กับการใช้หลอด จึงไม่อยากให้สิ่งที่ทุกคนต้องการช่วยมูลนิธิฯ ต้องจบลงแค่เป็นหมอนเมื่อหมดอายุก็ทิ้งไป เราจึงมีแนวคิดที่จะนำหลอด หรือเศษหลอดที่เกิดจากการใช้งานแล้ว มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไป เป็นการสร้างความรู้ เพื่อความยั่งยืน

นอกจากนี้ได้ร่วมกับศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ เพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการวิจัย เปลี่ยนวัสดุ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ เนื่องจากไม่ต้องการแค่เปลี่ยนวัสดุที่ปกติใช้จากธรรมชาติ แต่ต้องการเปลี่ยนวัสดุทดแทนวัสดุธรรมชาติ เช่น รีไซเคิลหลอดเป็นเส้นพลาสติกที่สามารถนำมาสานเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มของตกแต่งบ้าน โดยสถาบันนวัตกรรมจะมาช่วยดูให้เส้นพลาสติกนิ่มขึ้น อายุนานขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะมาช่วยในสิ่งที่เรายังขาด คือ การออกแบบ ให้เปลี่ยนเป็นโปรดักส์จริง ที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลายจริงๆ ไม่เช่นนั้น ก็จะไม่ต่างอะไรกับการเปลี่ยนรูปแบบขยะจากหลอด มาเป็นเส้นที่กองทิ้งไว้ เพราะฉะนั้นกลไกสำคัญจึงจำเป็นต้องมีคนมาช่วยในการพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้

“หลอดเป็นขยะชิ้นเล็ก การที่จะนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลจึงดูไม่คุ้มค่าและยาก ทั้งในเรื่องของขั้นตอนการล้างทำความสะอาด แยก รวบรวม และมีต้นทุนในการรีไซเคิลสูง หลอดจึงเป็นวัตถุดิบใช้แล้วที่ถูกละเลย อีกทั้งเมื่อหลอดลงไปอยู่ในทะเล เป็นขยะชิ้นเล็ก สัตว์น้ำจึงได้รับผลกระทบ ความจริงแล้วหลอดไม่ได้สร้างผลกระทบแค่ในทะเล แต่ยังสร้างผลกระทบในวงกว้างด้วย โดยเฉพาะปัจจุบันประเทศไทยมีร้านคาเฟ่เป็นจำนวนมาก จึงยิ่งส่งผลให้ปริมาณหลอดยิ่งเพิ่มขึ้นมา”

สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มาจากพลาสติกทุกตัว ต้องทำเป็นเม็ดพลาสติกก่อน ขั้นตอนต่อไปถึงจะมาผลิตเป็นหลอด กว่าจะผลิตเป็นหลอดใช้เวลานานมาก แต่เมื่อผลิตเสร็จเราใช้งานดูดน้ำเสร็จก็ทิ้งแล้ว เพราะฉะนั้นเราจึงได้มีการมานั่งหารือกับมูลนิธิฯ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถึงเรื่องการยืดอายุของหลอดให้มีการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่โจทย์ที่ตามมาคือผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่องแบบ หรือดีไซน์ ของผลิตภัณฑ์มาก ซึ่งความตั้งใจของทีมเราคือต้องการให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลายให้มากที่สุด เพราะไม่เช่นนั้นหากเราทำขึ้นมาเกิดการใช้แค่ 1 – 2 คน ปริมาณขยะที่เราจะลดได้คงไม่มีนัยยะ

ขณะนี้ สถาบันนวัตกรรม ปตทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ได้มีการพัฒนาหลอดโดยเปลี่ยนจากวัตถุดิบให้เป็นวัสดุก่อน ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปให้เป็นแผ่นบางๆ เพื่อให้เหมาะกับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์บางชนิด หรือเปลี่ยนให้เป็นเส้น ซึ่งจุดประสงค์หลักต้องการปรับวัสดุให้เข้ากับชุมชน โจทย์ต่อมาคือแล้ววัสดุแบบไหนที่ชุมชนรับได้

ส่วนเรื่องของการออกแบบ เรามีการทำงานร่วมกับทีมออกแบบอยู่เสมอ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย หากไม่สามารถทำได้ตามวัตถุประสงค์ก็ไม่ต่างอะไรจากการเปลี่ยนที่ทิ้งขยะเท่านั้นเอง

ส่วนจุดประสงค์ที่รองลงมาในการดึงชุมชนเข้ามามีส่วนรวม คือต้องการให้รู้จักการแยกขยะมากขึ้น และเมื่อมีการวิจัยและพัฒนาสิ่งเหล่านี้ เราไม่ต้องการไปเบียดเบียนชาวบ้านในธุรกิจเหล่านี้ อยากให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน เมื่อใดที่เราพูดถึงกระบวนการสร้างคุณค่าให้วัสดุ (อัพไซคลิ่ง : Upcycling) ก็จะโยงไปถึงเรื่องความยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน หนึ่งในเป้าหมายของความยั่งยืนก็คือเรื่องของการกระจายรายได้ด้วย โดยปัจจุบันไม่ได้มีการพัฒนาแค่ชุมชนเดียว มองว่า เป็นการเพิ่มโอกาส และขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดให้กับชุมชน รวมทั้งในปี 66 ได้ตั้งเป้าหมายจัดทำแบรนด์ดิ้งสินค้าให้กับชุมชน ภายใต้การดูแลของเครือ ปตท. อีกด้วย

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ เพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขยายความว่า ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับมูลนิธิฯ กว่า 3 ปีแล้ว เริ่มจากการทำหมอนหลอดกันแผลกดทับ ซึ่งในตอนนั้นหลอดเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมาก แต่จากการทดลองผลิตหมอนสามารถใช้งานได้เพียง 10 – 11 ครั้งเท่านั้น ซึ่งเป็นการยืดอายุหลอดได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น จึงเป็นที่มาของการแปรงหลอดให้เป็นวัตถุดิบใหม่ โดยชุมชนสามารถทำได้ เบื้องต้นได้ทำการหั่น รีด ป่นหลอด ให้เป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งในเบื้องต้นยังพบปัญหา ชุมชนนำมาเย็บขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้ยาก และการยืดอายุทำได้น้อย แต่เมื่อมาทำงานร่วมกับสถาบันนวัตกรรม ปตท. และมูลนิธิฯ โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาช่วยออกแบบเป็นชิ้นงานขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันได้มีการทดลองกับชุมชนแล้ว เริ่มจากชุมชนใน จ.พระนครศรีอยุธยา และเริ่มจากการสานกระเป๋าที่คุ้นเคย เพื่อให้ชุมชนคุ้นเคยกับวัสดุก่อน

แม้หลอดจะดูเหมือนเป็นสิ่งเล็กๆ แต่อย่าลืมว่าเราใช้หลอดกันในชีวิตประจำวันกันทุกวัน แต่กลับไม่มีการจัดการที่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นการผนึกกำลังสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมานี้ เป็นอีกหนึ่งหนทางฟื้นฟูธรรมชาติแวดล้อมได้เป็นอย่างดี